x

National Anti-Corruption Commission

ตรวจ คอร์รัปชัน แล้ว

ตรวจ ความโปร่งใส อยู่

ตรวจ ป.ป.ช. ต่อ

เป็นองค์กรนําในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และได้รับความเชื่อมั่น

นี่คือวิสัยทัศน์ที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ National Anti-Corruption Commission (NACC) ในภาษาอังกฤษ แถลงไว้ในแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2566-2570

สังคมไทยวนเวียนอยู่กับการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมาแต่ไหนแต่ไร จนตกลงกันได้ว่าควรจัดตั้ง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อย่างพี่ ป.ป.ช. ให้เป็นกลไกหลักเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังนี้

แล้วหน้าที่ของคุณพี่ ป.ป.ช. ต้องทำอะไรบ้าง?

ภาษากฎหมายบอกไว้ว่า ป.ป.ช. มีหน้าที่

ไต่สวน

วินิจฉัย

การทุจริตของ เจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการระดับสูง

ที่ร่ำรวยผิดปกติ หรือทุจริตต่อหน้าที่ และตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐ

เพื่อ

ปราบปราม

ป้องกัน

การทุจริตที่เกิดขึ้นในระบบราชการ

ยังไม่พอ! ป.ป.ช. เวอร์ชันใหม่ ได้อัปเกรดขอบเขตอำนาจและยกระดับหน่วยงานเพิ่มตามกฎหมายฉบับใหม่ในปี 2561 โดยมุ่งหวังให้ปราบคอร์รัปชันได้สำเร็จ

เพิ่ม

  1. เพิ่ม อำนาจในการหาพยานหลักฐาน
    • จ้างผู้เชี่ยวชาญให้ตรวจสอบและติดตามทรัพย์สินในต่างประเทศ
    • จับกุมตัวผู้กระทำผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล หากจับได้ซึ่งหน้า
    • ขอข้อมูลธุรกรรมทางการเงินจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้
  2. เพิ่ม อำนาจตัดสินใจร่วมกับอัยการสูงสุดเมื่อต้องฟ้องคดี
  3. เพิ่ม การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน คุ้มครองผู้ชี้เบาะแสการโกง

จัดสรร

  1. จัดสรร กรอบเวลาทำงานให้เสร็จภายใน 2 ปี
  2. จัดสรร ภาระคดีเล็กให้องค์กรอื่นทำแทน

ยกระดับ

ยกระดับหน่วยงาน ป.ป.ช. ให้โปร่งใสและถูกตรวจสอบได้

ความคาดหวังของประชาชนต่อ ป.ป.ช.

ในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันให้ตรงจุด เร่งด่วน และวัดผลได้ นั้นคงเพิ่มมากขึ้น


ฟากฝั่ง ป.ป.ช.

ก็คงตั้งใจดำเนินงานให้สะท้อนวิสัยทัศน์ที่แถลงไว้ใน ‘แผนปฏิบัติราชการ’

แต่แผนการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ และเป้าหมายของโครงการต่าง ๆ ที่ ป.ป.ช. แถลงในแผนปฏิบัติราชการนั้น

เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน?

แม้ว่าทุก ๆ ปี ป.ป.ช. จะถูกซักฟอกและต้องชี้แจงผลงานต่อรัฐสภา เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามคดีทุจริตออกมามีประสิทธิภาพ

แต่ประชาชนอย่างเราเอง ก็ควรรับรู้เช่นกันว่าองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบผู้อื่นอย่าง ป.ป.ช. มีการดำเนินการและผลงานออกมาเป็นอย่างไร เพื่อให้ภารกิจป้องกันและปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชันมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

PART 1

ตรวจงบ และแผนงาน ป.ป.ช.

Budget & Action Plan

ตรวจสอบงบประมาณและแผนการดำเนินงานของ ป.ป.ช.

ในแต่ละปี สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ ให้ ป.ป.ช. 2 ส่วน คือ

1

เพื่อใช้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

และแผนงานต่าง ๆ

งบประมาณสำนักงาน ป.ป.ช.

2

งบประมาณกองทุนป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กองทุน ป.ป.ช.)

เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและเอกชน

มีส่วนร่วมในต่อต้านการทุจริต

ในบทความนี้ จะพูดถึงงบประมาณในส่วนแรกเป็นหลัก

งบประมาณประจำปีที่ถูกจัดสรรให้ ป.ป.ช. เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่ ‘อาจ’ สะท้อนว่ารัฐไทยเอาจริงเอาจังแค่ไหนกับการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน

งบประมาณ ป.ป.ช. เปรียบเทียบกับงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของประเทศ ปี พ.ศ. 2556 -2567

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

งบ ป.ป.ช.

งบทั้งหมดของประเทศ

หากเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้งบประมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 200%

จาก 1,228 ล้านบาท ในปี 2556 → เป็น 3,683 ล้านบาท ในปี 2567

หรือถ้าไปดูสัดส่วนของ งบที่ ป.ป.ช. ได้ในแต่ละปี ต่อ งบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของประเทศ ในปีนั้น ๆ ก็จะพบว่า ป.ป.ช. ได้สัดส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นเหมือนกัน

จาก 0.05% ในปี 2556 → เป็น 0.11% ในปี 2567

หรือ ป.ป.ช. ทุ่มงบแค่เอาขิง

เพราะในความเป็นจริง สถานการณ์คอร์รัปชันยังอยู่ที่เดิม ?

ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index: CPI)

เป็นหนึ่งในดัชนีจัดอันดับคอร์รัปชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยวัด สถานการณ์การรับรู้การทุจริต ของประชาชนในแต่ละประเทศ ยิ่งมีค่า CPI สูงหรือใกล้เคียง 100 คะแนน ยิ่งสะท้อนว่าประชาชนมองสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศดีขึ้น

งบประมาณของ ป.ป.ช. ↑ พุ่งสูงขึ้นในทุก ๆ ปี

ในขณะที่ค่าดัชนี CPI ของไทย → ไม่ได้เคลื่อนตัวไปไหน

สิ่งนี้อาจสะท้อนว่า งบประมาณถูกจัดสรรให้ภารกิจต่อต้านการทุจริตเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับไม่ได้ทำให้คนมอง ‘สถานการณ์การทุจริตในไทย’ ดีขึ้นตาม

และ ป.ป.ช. เองก็ยังใช้ดัชนี CPI เป็น 1 ในตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งเป็นแผนงานสำคัญอีกด้วย

ค่าดัชนี CPI ของไทย เทียบกับค่าเฉลี่ยอาเซียน ค่าเฉลี่ยของโลก และเป้าหมายของ ป.ป.ช.

ปี พ.ศ. 25​56 -2567

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

ไทย

เฉลี่ยของอาเซียน

เฉลี่ยของโลก

เป้าหมาย ป.ป.ช.

35-38 คะแนน

ดัชนี CPI ไทยในรอบ 10 ปีสาละวนอยู่กับตัวเลขนี้ และคงอยู่ที่ 35 คะแนนในปี 2566 ทำให้อันดับโลกด้านความโปร่งใสของไทยรั้งท้ายอยู่ที่อันดับ 108 จาก 180 ประเทศ

38-40 คะแนน

ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอาเซียน ที่ไทยเคยเอื้อมแตะถึงแค่ 2 ปีที่ 38 คะแนน ในช่วงเกือบ 10 ปีที่แล้ว

43 คะแนน

หากยังนึกภาพไม่ออกว่าย่ำแย่แค่ไหน ให้ลองเทียบค่าดัชนีของไทยกับค่าเฉลี่ยของทั้งโลก

53 คะแนน

คือเป้าหมายที่ ป.ป.ช. ฝันไกล ต้องทำให้ได้ภายในปี 2567 ทั้ง ๆ ที่ทำคะแนนไม่เคยถึงเป้าที่วางไว้มาเกือบ 8 ปีแล้ว

แค่นี้ยังไม่พอ! ข้อมูลจาก Global Corruption Barometer (GCB) ที่

สำรวจทัศนคติและประสบการณ์เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน

โดยผู้ทำแบบสอบถามจำนวน 1,000 คน จากผลการสำรวจในปี 2563 ประเทศไทยมีข้อมูล​ตัวเลขที่น่าเป็นห่วง ดังนี้

Ellipse Speech Bubble

88%

ให้ความเห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลเป็นปัญหาใหญ่

Ellipse Speech Bubble

73%

ให้คำตอบว่ารัฐบาลจัดการกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในระดับแย่

Ellipse Speech Bubble

28%

เคยได้รับการเสนอสินบนเพื่อแลกกับคะแนนโหวตในช่วงเลือกตั้ง

Ellipse Speech Bubble

24%

เคยรับรู้หรือจ่ายสินบนเพื่อเข้าถึงบริการสาธารณะ ช่วง 12 เดือนก่อนทำแบบทดสอบ

เจาะไส้ใน งบปี 67 ป.ป.ช. ใช้จ่ายไปกับอะไร?

ปีล่าสุด (2567) ป.ป.ช. ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า

หากแบ่งงบประมาณตามประเภทการใช้สอย จะพบว่า

  • เกือบกึ่งนึงของงบประมาณ ป.ป.ช. ถูกใช้ไปกับ งานบุคลากร 49%
  • รองลงมาคือ งบที่ใช้พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ งบก่อสร้างอาคาร เช่ารถยนต์ จัดซื้อครุภัณฑ์ และอื่น ๆ เรียกรวมในที่นี้ว่า งานบริหาร 39%
  • ส่วนงบประมาณที่อาจเรียกได้เต็มปากว่างบ โครงการตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีมูลค่าเพียงแค่ 12% ของงบประมาณที่ถูกจัดสรร

งบประมาณ ป.ป.ช. ปี พ.ศ. 2567

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

งบประมาณเน้น จ้างคน และ สร้างตึก มีมูลค่ารวมกว่า 2,676 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อย ในขณะที่งบโครงการในการต่อต้านการทุจริตแค่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายดําเนินงาน เพียงอย่างเดียว จะมีตัวเลขสุทธิที่ 439 ล้านบาท

แม้การจัดสรรงบประมาณประจำปีในส่วนของงบบุคลากรจะเป็นงบที่ถูกจัดสรรในสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ที่ 50-60% ของแทบทุกหน่วยงานราชการ แต่สัดส่วน งบแผนงานฯ 12% ที่น้อยเกินไปนี้ อาจตั้งคำถามต่อได้อีกว่า การใช้จ่ายงบของ ป.ป.ช. ให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวน บุคลากร และตึกอาคาร มากกว่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการป้องกันและปรามปรามการทุจริตคอร์รัปชันได้หรือไม่ ?

งบ 12% ที่ถูกใช้ใน แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ถูกใช้ไปทำอะไร และได้ประสิทธิภาพแค่ไหน?

แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นแผนงานใหญ่ตามมติ ครม. ที่จัดทำร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ราวกว่า 26 หน่วยงาน โดยมี ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงาน


ในฐานะเจ้าภาพงาน ป.ป.ช. จะนำ งบ 12% ของแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ไปรวมกับงบอีก 2 แหล่งคือ

งบ 12%

ของแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

Plus Symbol Icon

งบประมาณ

ภายใต้กองทุน ป.ป.ช.

งบดำเนินงาน

ตามแผนงาน

บูรณาการฯ ของ 26 หน่วยงาน

เพื่อดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)

ซึ่งหากรวมมูลค่าแล้ว ป.ป.ช. ประมาณการเป็นตัวเงินกว่า

3,748 ล้านบาท

เพื่อดำเนินงานกว่า

605 โครงการ

ระหว่างปี 2566 - 2570

ป.ป.ช. บริหารงบประมาณจากทั้ง 3 ส่วนนี้ ผ่านการดําเนินงาน 3 แนวทางคือ

สร้างเสริม:

ปลูกฝังจิตสํานึกให้ประชาชนมีวัฒนธรรมซื่อสัตย์สุจริต

ป้องกัน:

ป้องกันการทุจริต คดีทุจริตต้องลดลง

ปราบปราม:

ปราบปรามการทุจริตอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ

แนวทาง 3 ส่วนที่กล่าวมาอาจฟังดูสมเหตุสมผล สอดคล้องและส่งเสริมกัน แต่เมื่อไปเจาะดูรายละเอียดแล้วจะพบว่า งบประมาณที่ ป.ป.ช. ประเมินกว่า 3,748 ล้านบาท นี้ จะถูกให้ความสำคัญกับแค่บางแนวทางที่ดูเหมือนจะเกินความจำเป็น

สัดส่วนประมาณการงบประมาณในแผนงานของ ป.ป.ช. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566-2567

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด/กดลูกศรเพื่อเปลี่ยนมุมมอง

สร้างเสริม

ป้องกัน

ปราบปราม

จากรายละเอียดการใช้งบฯ จะพบว่าการจัดสรรงบประมาณที่ประเมินไว้ในแผนปฏิบัติฯ ระยะที่ 2 ให้ความสำคัญอย่างมากกับการ สร้างเสริม แต่ไม่ค่อยถูกใช้ในการทำงานเชิงระบบที่ช่วยให้การปราบปรามคอร์รัปชันในเชิงปฏิบัติเกิดขึ้นได้จริงเท่าไหร่

สัดส่วนงบที่ ป.ป.ช. ประมาณการไว้ใช้ดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติฯ ระยะที่ 2 นั้นน้อยลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี แต่แนวทาง สร้างเสริม ก็ยังไม่มีท่าทีที่จะเป็นพระรอง

แนวทางการทำงานแบบ สร้างเสริม ผ่านการปลูกจิตสำนึกนั้นฟังดูจะเป็นเรื่องดีและมองได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่เมื่อศึกษาในรายละเอียดของโครงการจะพบว่า งบประมาณส่วนใหญ่ใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความตระหนักในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งมีลักษณะต่างคนต่างทำและเป็นกิจกรรมเดิม ๆ เล็ก ๆ ที่จัดทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างจริงจังเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น

thailand flag long
Fist Punching through Wall

โครงการป้องกันการทุจริตและ

ประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ท มหาว ทยาล ยราชภ ฎภ เก ต
Thai Flag wave Ribbon Realistic Thailand

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมและ

พฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมและ

พฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต

Clenched Fist Vector
โดย มหาว ทยาล ยราชภ ฎนครสวรรค
Corner slanted ribbon flag of Thailand
โครงการสร างว ฒนธรรมส จร ต สำหร บเยาวชนไทย
Fist Vector Demonstration. Arm of Activist. Riot Angry Gesture Grunge Vector.
จ ดท มหาว ทยาล ยราชภ ฎบ านสมเด จเจ าพระยา
Corner slanted ribbon flag of Thailand

ทั้ง 3 โครงการนี้เป็นกิจกรรมจัดอบรมเยาวชนในรูปแบบเดียวกันที่จัดต่างสถานที่แบบต่างคนต่างทำในปีงบประมาณเดียวคือปี 2566 โดยไม่มีการต่อยอดในปีงบประมาณอื่น ๆ ในขณะที่ตัวชี้วัดของโครงการในลักษณะนี้มุ่งให้สังคมไทยมี สัดส่วนเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตที่จำนวน 80% ของเด็กและเยาวชนไทยทั้งหมด ในปี 2566


กิจกรรมในรูปแบบนี้จึงดูเหมือนว่าเป็น โครงการยอดฮิต ที่ ป.ป.ช. ใช้จัดงานทุกสถานที่ทั่วประเทศ โดยละเลยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงบริบทที่แตกต่างกัน เพราะต่างสถานที่อาจมีรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันที่ไม่เหมือนกันได้


การจัดอบรมแบบครั้งเดียวในปีงบประมาณเดียวและไม่มีการต่อยอดในปีถัดไป ไม่อาจปลูกฝังหรือเพิ่มความตระหนักรู้เรื่องการต่อต้านการทุจริตในระยะยาว และการคาดหวังผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมผ่านการจัดกิจกรรมอบรมเพียงครั้งเดียวนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้ยาก


หรือในแง่ของการประเมินและติดตามผล ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าตั้งคำถามเช่นกันว่า

กิจกรรมในลักษณะนี้มีการประเมินและติดตามผล ที่เป็นรูปธรรมมากแค่ไหน?

ไปจนถึง

ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมสร้างเสริมนี้สอดคล้อง

กับเป้าหมายหลักของ ป.ป.ช. ด้วยหรือไม่?

การทำงานในแต่ละแนวทางจึงไม่ควรมีความแตกต่างกันมากนัก และ ป.ป.ช. สามารถสร้างสมดุลระหว่าง 3 แนวทางการทำงานโดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่ล้วนมีบริบทปัญหาการทุจริตที่แตกต่างกัน

การ ปราบปราม ที่มีคุณภาพและรัดกุมอาจทำให้สังคมเห็นภาพมากขึ้นว่าคนที่ทำผิดต้องได้รับผลอย่างไร หรือการเพิ่มความสำคัญให้กับงาน ป้องกัน เช่น การสร้างกลไกให้ภาครัฐมีการทำงานที่โปร่งใสมากขึ้น หรือพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทุจริตให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังด้วย อาจสร้างผลประโยชน์ที่ไม่น้อยกว่าแผนงาน สร้างเสริม คุณธรรมและความซื่อสัตย์ให้กับบุคลากรและประชาชนด้วยเช่นกัน

Silver and Black Megaphone

เมื่อ ป.ป.ช. เน้นทำงาน

ป่าวประกาศ มากกว่า

ป้องกันและปราบปราบ

งบประมาณของ ป.ป.ช. ในปี 2567 มีเพียงแค่ 12% ที่จะถูกใช้เพื่อดำเนินโครงการตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยรวมกับงบจากแหล่งที่มาอื่น ๆ เพื่อจัดโครงการที่เน้นสัดส่วนการ สร้างเสริม มากกว่า ป้องกันการทุจริต และ ปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้หมดสิ้น

แม้ว่า ป.ป.ช. จะมีงบประมาณส่วนอื่น ๆ อย่าง กองทุน ป.ป.ช. ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเอกชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรณรงค์ป้องกันการทุจริต แต่กองทุน ป.ป.ช. นี้ก็ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับทุนโดยส่วนใหญ่ใช้ทุนนี้เพื่อการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในสัดส่วนเกือบทั้งหมด

การทำงานที่อาศัยกระบวนการ ‘ป่าวประกาศ’ อย่างการสร้างเสริมและการสื่อสาร มากกว่าป้องกันและปราบปราม นั้น ตอบสนองวิสัยทัศน์หลักของ ป.ป.ช. ในการ “เป็นองค์กรนําในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ…” มากขนาดไหน ? และด้วยวิธีการทำงานงานในรูปแบบที่กล่าวมา จะสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันให้หมดไป เพื่อให้ค่าดัชนีการรับรู้สถานการณ์การทุจริตไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นได้จริงหรือ ?

Transparency Grid Seamless Texture. Transparent Background in the Graphical Editor Interface

PART 2

ตรวจตัวชี้วัดความโปร่งใส

ITA

Integrity & Transparency Assessment

ตรวจเครื่องมือประเมินความโปร่งใส ของ ป.ป.ช.

light effects.

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment) หรือที่รู้จักกันในชื่อ การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือการประเมินที่พัฒนาร่วมกับคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง (ACRC) ของประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงปี 2552-2554

กระทั่งในปี 2560 ที่ ภารกิจต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ถูกบรรจุในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และได้กำหนดให้การประเมิน ITA เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการผลักดันความสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้ในปี 2562 เป็นต้นมา ป.ป.ช. ใช้การประเมินชิ้นนี้เพื่อวัด คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

ในปัจจุบัน การประเมิน ITA ยังเป็น 1 ใน 2 ตัวชี้วัดใน แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งเป็นแผนงานสำคัญที่ ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพหลักในภารกิจป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

แม้ไม่มีการบังคับให้หน่วยงานทำการประเมิน ITA แต่จำนวนหน่วยงานที่เข้ารับการประเมินก็เพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นแรกผลักดันให้หน่วยงานเข้าร่วมการประเมิน และอีกส่วนสำคัญคือแรงกระตุ้นเชิงบวกที่หน่วยงานจะได้รับหากคะแนน ITA อยู่ในระดับที่น่าชื่นชม อย่างการได้ขึ้นป้ายไวนิล ‘คว้ารางวัล ITA’ ที่เป็นศรีแก่หน้าตาของหน่วยงาน

เกณฑ์สอบผ่านของแบบประเมินคือ

85/100

คะแนน

ยิ่งได้คะแนนสูง ยิ่งสะท้อนคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร

Geometric Arc Shape

หน่วยงานรัฐไทยโปร่งใสแค่ไหน

หากใช้คะแนน ITA เป็นมาตรวัด ?

สัดส่วนหน่วยงานที่สอบผ่านระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ริเริ่มการประเมินใน ปี 2562 หน่วยงานรัฐไทยสอบผ่านเกณฑ์เพียง 11.7% และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีถัดมา


กระทั่ง ปี 2564 สัดส่วนหน่วยงานที่ได้คะแนนเกิน 85 คะแนนพุ่งสูงอยู่ที่ 50% และขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปีล่าสุด หน่วยงานรัฐไทยโปร่งใสผ่านเกณฑ์กว่า 6,736 หน่วยงาน จากทั้งหมด 8,323 หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินในปี 2566 คิดเป็น 80.9%

เพิ่มขึ้น

x7

เท่า

ภายใน

5

ปี

เท่ากับว่าคะแนน คุณธรรมและความโปร่งใส เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกว่า 7 เท่าภายในเวลา 5 ปี แต่ตัวเลขนี้ ป.ป.ช. อาจจะยังไม่พอใจ


เพราะในแผนปฏิบัติฯ ป.ป.ช. ตั้งเป้าว่าคะแนน ITA ของ ทุกหน่วยงาน ที่เข้ารับการประเมินในปี 2566-2570 นั้นต้องเกิน 85 คะแนน พูดง่าย ๆ คือ ต้องสอบผ่าน 100%


ถึงอย่างนั้น ตัวเลขคะแนน ITA ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีนี้ อาจจะทำให้ ป.ป.ช. รู้สึกว่ากำลังก้าวสู่หนทางการบรรลุเป้าหมายภารกิจต่อต้านคอร์รัปชันตามแผนงาน

หน่วยงานรัฐแฮปปี้ ป.ป.ช. ใจฟู แต่ประชาชนอาจดูไม่ออกว่าแบบประเมินสะท้อนอะไร

ท่ามกลางคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ประชาชนก็ยังคงได้ยินข่าวคอร์รัปชันในหน้าข่าวอยู่แทบสม่ำเสมอ ตัวอย่างกรณีที่ ‘ส่อ’ ว่าเกิดการทุจริตและได้พื้นที่สื่อไม่นานมานี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าคะแนน ITA ของหน่วยงานต้นเรื่อง จะพบความผิดปกติของคะแนนที่ถูกประเมินออกมา เช่น

Ripped Newspaper
Ripped Paper Line Texture
Torn Paper

2564

ข่าวเสาไฟกินรีต้นละ 90,000 บาท ติดตั้งในป่าร้างที่กำกับดูแลโดย อบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อคะแนน ITA ของหน่วยงานแม้แต่น้อย เพราะได้คะแนน ITA เพิ่มจาก 77.3 คะแนนในปี 2564 เป็น 90.8 คะแนนในปี 2565

Ripped Paper Line Texture
Torn Paper

2565

ในปีที่มีข่าวนี้ กองทัพเรือได้คะแนน ITA

สูงถึง 98.9 คะแนน

Ripped Newspaper

การที่คะแนน ITA สูงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ข่าวการทุจริตก็ยังคงปรากฏอยู่ เช่น ในกรณีของหน่วยงานเหล่านี้ ทำให้เราตั้งคำถามต่อได้หรือไม่ว่า การประเมิน ITA อาจมีปัญหาในการสะท้อนภาพความเป็นจริงเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานรัฐ ?

เพื่อหาคำตอบว่าการประเมิน ITA สะท้อนคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐอย่างไร

ลองเช็กกันสักนิดว่า

แบบประเมินชุดนี้ใช้เกณฑ์อะไรให้คะแนน

ตัวชี้วัดของแบบประเมิน ITA แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

IIT 30%

Internal ITA


ประเมินโดย

บุคลากรในหน่วยงาน

EIT 30%

External ITA


ประเมินโดย

ประชาชนผู้ใช้บริการ

OIT 40%

Open data ITA


คะแนนการ

เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

ส่องดู 2 ตัวชี้วัดแรก หน่วยราชการมองคุณธรรม​ของตัวเอง เท่ากับที่ประชาชนมองมาหรือไม่

แต่ละตัวชี้วัดมี คะแนนเต็ม 100 คะแนน

หากเปรียบเทียบระหว่าง ‘ค่าเฉลี่ย’ คะแนน IIT (ประเมินโดยบุคลากรในหน่วยราชการ) กับ คะแนน EIT (ประเมินโดยประชาชนและเอกชนผู้รับบริการ) จะพบว่า สัดส่วนของ 2 ค่าเฉลี่ยในแต่ละปีไล่เลี่ยกัน และไม่แตกต่างกันมาก

ข้อมูลในส่วนนี้แสดงเฉพาะคะแนนจากหน่วยงานที่มีการประเมิน IIT และ EIT โดยไม่นำ ‘หน่วยงานที่ไม่มีคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง’ มาคำนวณด้วย

เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งสองตัวชี้วัด ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

IIT

EIT

หากนำคะแนน IIT เปรียบเทียบกับคะแนน EIT รายหน่วยงาน เพื่อหา ผลต่างระหว่างคะแนน จะพบว่า ตลอดทั้ง 5 ปีที่ผ่านมา ‘ผลต่างระหว่างคะแนน’ น้อยลง และค่าคะแนนเพิ่มสูงขึ้นโดยกระจุกกันที่ฝั่งคะแนนเต็ม 100 มากขึ้น

ตัวอย่าง

= หน่วยงานแห่งหนึ่ง

ปี 2565 ได้คะแนน EIT 80 / IIT 60 คะแนน → ห่างกัน 20 คะแนน

ปี 2566 ได้คะแนน EIT 94 / IIT 96 คะแนน→ ห่างกัน 1 คะแนน

จะเห็นได้ว่ายิ่งคะแนนห่างกันน้อย จุดของหน่วยงานจะเข้าใกล้เส้นตรงกลางมากขึ้น และตำแหน่งสูงขึ้นตามค่าคะแนนของทั้งสองตัวชี้วัด

ทีนี้เราลองไปดู ภาพรวมของหน่วยงานทั้งหมดกัน

คะแนนทั้งสองตัวชี้วัดของแต่ละหน่วยงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

= 1 หน่วยงาน

หากนำภาพรวมในช่วง 5 ปีมากางเทียบ จะสังเกตเห็นว่า ผลต่างระหว่างคะแนน มีการกระจุกตัวใกล้เส้นตรงกลางและที่ฝั่งคะแนนเต็ม 100 มากขึ้น สะท้อนว่า หน่วยงานมีผลต่างระหว่างคะแนน IIT และ EIT น้อยลง และหน่วยงานได้คะแนนจากทั้ง 2 ตัวชี้วัดสูงขึ้น

จากข้อมูลในส่วนนี้ เราสามารถสรุปได้หรือไม่ว่า หน่วยราชการมองคุณธรรมของตัวเองเท่ากับที่ประชาชนมองหน่วยงานมากขึ้นเรื่อย ๆ และระดับคุณธรรมของหน่วยงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย ?


ถ้าย้อนกลับไปสู่ข้อสงสัยแรกว่าทำไมคะแนน ITA ของหน่วยงานรัฐไทยถึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และมันสะท้อนคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐอย่างไรบ้าง จากข้อมูลคะแนนที่ยกมา อาจทำให้ตั้งคำถามถึงแบบประเมินตัวนี้ต่อได้ว่า

หรือหน่วยงาน ประเมินภายใน ดีเกินจริง ?

เพื่อผลประเมินที่ดีจะสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรมากกว่าสร้างแรงจูงใจให้ ป.ป.ช. เข้ามาตรวจสอบเพราะองค์กรมีคะแนน IIT และ EIT ที่ไม่สูงพอ


กรณีที่อาจยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ ยกมาจากรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของ ป.ป.ช. ในปี 2565 ที่เปิดเผยว่า

หน่วยงานที่มีคำกล่าวหาคดีทุจริตมากที่สุด

2 ใน 3 ลำดับแรกคือ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

866

เรื่อง

กระทรวงมหาดไทย

835

เรื่อง

จากทั้งหมด 7,044 เรื่อง

แต่ถ้านำค่าคะแนน ITA และค่าคะแนนตัวชี้วัดย่อยของทั้ง 2 หน่วยงานในปี 2565 มากางเทียบ จะพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนย่อยและคะแนน ITA ของหน่วยงานสังกัด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กระทรวงมหาดไทย อยู่ในเกณฑ์ ‘ดี’ และ ‘ดีเยี่ยม’

แม้จะเป็นการยากที่จะสรุปว่า หน่วยงานที่มีเรื่องร้องเรียน การทุจริตมาก ต้องมีคะแนนเรื่อง ความโปร่งใสน้อย เพราะในแง่หนึ่งอาจสะท้อนว่าในหน่วยงานมีกลไกตรวจจับการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ เลยทำให้จำนวนคำกล่าวหามากกว่าหน่วยงานอื่น และในกรณีของ 2 หน่วยงานที่ยกตัวอย่างนี้ ยังเป็น 2 หน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่น ๆ พร้อมทั้งมีพันธกิจเชิงหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามคดีทุจริตด้วย เลยอาจเป็นส่วนที่ทำให้มีเรื่องร้องเรียนเยอะกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ได้เช่นกัน


ทั้งนี้ทั้งนั้น จากคะแนน ITA ที่อยู่ในเกณฑ์ ดี และ ดีเยี่ยม นี้ อาจทำให้ได้ข้อสรุปว่า แบบประเมินชุดนี้เน้นมองแค่ ‘เชิงบวก’ โดยละเลยประเด็น ‘เชิงลบ’ อย่างเรื่องทุจริตหรือความไม่โปร่งใสมาคิดคำนวณเป็นคะแนนด้วย ทำให้หน่วยงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภายในองค์กรดีเกินจริง

เพราะประชาชนไม่มีโอกาสประเมินการทุจริตของหน่วยงาน คะแนนจึงอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ?

การประเมินโดยคนภายนอกองค์กร ควรเป็นส่วนที่นำมาตรวจทานความน่าเชื่อถือของข้อมูลในส่วนแรกได้ แต่ถ้าแง้มดูชุดคำถาม 15 ข้อในการประเมิน EIT มีเพียงแค่ 4 คำถามแรกที่สามารถเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกับการประเมิน IIT ได้ และมีเพียงข้อคำถามเดียวที่ประเมินเรื่องการทุจริต เพราะส่วนที่เหลือเป็นการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสื่อสาร และการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานของหน่วยงาน ประชาชนจึงมีสิทธิประเมินเฉพาะสิ่งที่รับรู้ได้จากภายนอก

ตัวอย่างคำถามข้อที่เกี่ยวกับการทุจริต

IIT

ประเมินโดยบุคลากรในหน่วยราชการ

EIT

ประเมินโดยประชาชนและเอกชนผู้รับบริการ

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานท่าน มีการเรียกรับเงิน ทรัพย์สิน ของขวัญ ของกำนัล หรือผลประโยชน์ (นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ) เพื่อแลกกับการปฏิบัติงานหรือให้บริการ หรือไม่?

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ท่านเคยถูกเจ้าหน้าที่เรียกรับเงิน ทรัพย์สิน ของขวัญ ของกำนัล หรือผลประโยชน์(นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ) เพื่อแลกกับการปฏิบัติงานหรือให้บริการแก่ท่าน หรือไม่?

การประเมินในลักษณะนี้จึงมีสัดส่วนการประเมินกระบวนการทำงาน และการสื่อสารขององค์กรมากกว่าคุณธรรมของหน่วยงาน ค่าคะแนน EIT จึงสามารถปรับให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ จากการที่หน่วยงานปรับปรุงขั้นตอนการทำงานและบริการให้ชัดเจน สะดวก และรวดเร็ว

ประชาชนที่ประเมินคือใครกันบ้าง ?

นอกเหนือจากเรื่องเครื่องมือการประเมิน กระบวนการในการได้มาซึ่งคะแนน EIT ก็เป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามถึงความโปร่งใสเช่นกัน เช่น ใน คู่มือการประเมิน ITA ปีงบประมาณ 2566 ระบุว่า คะแนน EIT มีที่มาจากการประเมิน 2 ส่วนสำคัญ คือ

IIT 30%

Internal ITA


ประเมินโดย

บุคลากรในหน่วยงาน

EIT 30%

External ITA


ประเมินโดย

ประชาชนผู้ใช้บริการ

OIT 40%

Open data ITA


คะแนนการ

เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

15%

1. ประชาชนผู้รับบริการทำการประเมินด้วยตนเอง

ผ่านระบบ ITAS ระบบการประเมินนี้เปิดโอกาสให้ ‘ใครก็ได้’ เข้าทำแบบประเมินบนเว็บไซต์ เพียงแค่ลงทะเบียนผ่านเบอร์โทรศัพท์เพื่อรับรหัส OTP แล้วทำการประเมิน ทำให้กระบวนการนี้ยังขาดระบบคัดกรองผู้ที่ให้คะแนนว่าเป็นประชาชนที่เข้ารับบริการจริง หรือเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานโดยตรงเป็นผู้ให้คะแนนด้วย

15%

2. หน่วยงานจัดตั้งผู้ประเมิน

เพื่อคัดเลือกและติดตามประชาชนที่ใช้บริการ ‘บางส่วน’ มาให้คะแนน การเปิดโอกาสให้หน่วยงานเป็นผู้คัดเลือกผู้ให้คะแนนหน่วยงานได้นั้นอาจสร้างช่องโหว่เรื่องความโปร่งใสในค่าคะแนน EIT ว่าถูกควบคุมโดยหน่วยงานได้ด้วยหรือไม่ ?

คะแนนการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

หรือแค่เปิดเผยก็ชนะ?

ตัวชี้วัดสุดท้ายมีสัดส่วนคะแนนมากที่สุด และเป็นตัวกำหนดชะตาคะแนนรวมของทุกหน่วยงาน

IIT 30%

Internal ITA


ประเมินโดย

บุคลากรในหน่วยงาน

EIT 30%

External ITA


ประเมินโดย

ประชาชนผู้ใช้บริการ

OIT 40%

Open data ITA


คะแนนการ

เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ

คะแนนในส่วนนี้ประเมินจากองค์ประกอบการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานบนเว็บไซต์ให้ครบ

43 รายการ ตามที่ ป.ป.ช. ต้องการ หากลิงก์เว็บไซต์ใช้งานได้และมีข้อมูลของปีงบประมาณปัจจุบันครบถ้วน ก็จะได้คะแนนเต็มในข้อนี้ทันที

ข้อมูลส่วนนี้แสดงคะแนนจากหน่วนงานที่เข้ารับการประเมิน ITA ทั้งหมด

จำนวนหน่วยงานที่ได้ 100 คะแนนเต็มระหว่างปี พ.ศ.2562-2566 เปรียบเทียบทั้ง 3 ดัชนีชี้วัด

ลองชี้แต่ละจุดเพื่อดูรายละเอียด

IIT

EIT

OIT

ในบรรดาตัวชี้วัดทั้งสาม OIT เป็นส่วนที่หน่วยงานสามารถเก็บคะแนนให้ครบ 100 คะแนนเต็มได้มากที่สุด และจำนวนหน่วยงานที่ได้คะแนน OIT 100 คะแนนเต็มนั้น ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี

ในปี 2566 หน่วยงานเก็บแต้ม OIT 100 คะแนนเต็มกว่า 2,796 หน่วยงาน คิดเป็น 46.7% ของหน่วยงานทั้งหมดที่เข้ารับการประเมินในปีนั้น ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ เช่นคะแนน IIT มีเพียงแค่ 304 หน่วยงานที่ได้คะแนนในส่วนนี้เต็ม 100 คะแนน

จากสัดส่วนคะแนนที่มากที่สุดในบรรดาตัวชี้วัด (40%) และเงื่อนไขที่เอื้อต่อการให้หน่วยงานได้คะแนนเต็ม ทำให้ตัวชี้วัดในส่วนนี้ดูเหมือนว่าเน้น ประเมินจาก ‘จำนวนรายการ’ ของข้อมูลเปิด มากกว่าประเมิน ‘คุณภาพ’ ของข้อมูลเปิด

แม้การเปิดข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์จะส่งเสริมให้หน่วยงานทำงานด้วยความโปร่งใส และทำให้หน่วยงาน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับกระบวนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น


แต่ข้อมูลที่เปิดให้สาธารณะดูในหน้าเว็บไซต์ก็ควรอยู่ในรูปแบบที่สามารถให้ประชาชนนำไปใช้งานต่อหรือวิเคราะห์ต่อได้ตามมาตรฐานสากล เช่น ในรูปแบบไฟล์ Excel หรือ CSV

PDF

แสกนมาจากกระดาษ - นำไปใช้ต่อได้ยาก

Excel

ที่นำไปใช้ต่อได้

ถ้าหากเข้าไปดูข้อมูลที่ถูกเปิดเผยในหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ได้คะแนน OIT 100 คะแนนเต็มในปี 2566 เช่น เทศบาลตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มีเพียงแค่ข้อมูล 2 ชุดที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ Excel ปรากฏในหน้า OIT การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ โดยข้อมูลที่เหลือที่แสดงในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวต่างอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานต่อได้ยาก


การไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบของข้อมูลที่เปิดเผย อาจทำให้เครื่องมือ ITA มีปัญหาตามมา เพราะทำให้เกณฑ์คะแนน OIT เป็นเพียงการตรวจเช็กว่าหน่วยงานเผยแพร่ชุดข้อมูลอะไร โดยไม่สนใจว่าข้อมูลที่เผยแพร่นั้นเผยแพร่ในรูปแบบไหน


การประเมิน OIT ยังถูกออกแบบให้เป็นมาตรฐานเดียวและปรับใช้กับทุก ๆ หน่วยงาน ในด้านหนึ่งจึงละเลยความแตกต่างในเชิงรูปแบบการทำงานของหน่วยงาน ความถนัดของหน่วยงาน และประเภทของประชาชนที่มาใช้บริการหน่วยงานด้วย ทำให้น่าสังเกตว่าในช่วงแรก ๆ หน่วยงานที่ได้คะแนน OIT 100 คะแนนเต็มมักเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรพร้อมกว่าหน่วยงานระดับท้องถิ่น

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก 101PUB ยังชี้ว่า


  • หน่วยงานสามารถงดเว้นการเปิดเผยข้อมูลที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงหรือการแข่งขันทางการค้าโดยไม่กระทบต่อการคิดคะแนน


  • เว็บไซต์ที่ถูกผลิตออกมาไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพการใช้งานและความสะดวกของผู้เข้ารับบริการแม้แต่น้อย เนื่องจากการปรับตัวให้มีหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ นั้นถูกขับเคลื่อนด้วยเหตุผลเพื่อการประเมิน ITA มากกว่าสร้างกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพ
Magnifying Glass.

เครื่องมือ ITA เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่ดี (?)

แต่การปรับใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร

ด้วยวิธีวัดผลที่เน้นตัวเลขคะแนน เป็นสำคัญ

สามารถส่งเสริมหน่วยงานให้แก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจังได้แค่ไหน ? และเครื่องมือนี้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรับรู้ การทุจริตที่น้อยลงในภาครัฐ ได้ตรงจุดหรือไม่ ?

อาจถึงเวลาที่ ป.ป.ช. ต้อง ประเมิน แบบประเมินชิ้นนี้ เพื่อทบทวนและพัฒนาเครื่องมือ ITA ให้สะท้อนคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างที่ควรจะเป็น

bubble transparent, soap bubbles

ติชมด้วยความเป็นธรรม

ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ

ร่วมส่งกำลังใจให้ ป.ป.ช. ทำงานสุดความสามารถ

ให้สมกับบทบาท องค์กรอิสระ ในภารกิจป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

คงไม่นาน

ที่ประเทศไทยจะมีค่าคะแนน CPI ที่สูงขึ้น


คงไม่ช้า

ที่การประเมิน ITA จะสะท้อนคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐแบบตรงไปตรงมา


และคงไม่น่าที่จะ

ต้องให้ ‘ภาคประชาชน’ ตรวจสอบ ‘หน่วยงานที่ตรวจสอบหน่วยงานอื่น อย่าง ป.ป.ช.’

หลาย ๆ หน เพราะเพียงแค่ไม่ดำเนินงานตามคำประกาศวิสัยทัศน์ที่บอกกล่าวไว้ว่า

เป็นองค์กรนําในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และได้รับความเชื่อมั่น

แชร์ให้เพื่อนมาช่วยกันเช็ก